วันที่ 16 ส.ค. 65 นายเทิดพงศ์ ไทยอุดม ผอ.สทนช.3 ได้ลงพื้นติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้งปี 2565/2566 (13 มาตรการ) ร่วมกับสำนักงานชลประทานที่ 6 โดยโครงการชลประทาน ชัยภูมิ ได้รายงานสถานการณ์น้ำในปัจจุบันของจังหวัดชัยภูมิ และติดตามการบริหารจัดการน้ำ ตาม 13 มาตรการฯ ดังนี้
- วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยตามที่ สทนช.3 แจ้ง และกำหนดติดธงสัญลักษณ์เตือนภัยน้ำท่วม 4 ลุ่มน้ำสาขา ได้แก่ ลุ่มน้ำพรม-เชิญ ลุ่มน้ำชีตอนบน ลำปะทาว ลุ่มน้ำลำคันฉู และอีก 1 เขตเศรษฐกิจเมือง
- การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ โครงการชลประทานชัยภูมิ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 5 นครราชสีมา และเทศบาลเมืองชัยภูมิ เตรียมบริหารจัดการ สูบและผันน้ำในเมืองชัยภูมิ และ อำเภอคอนสาร ในพื้นที่ลุ่มต่ำ และเตรียมการพร้อมระบายน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัยจากการคาดการณ์
- โครงการชลประทานชัยภูมิ กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ปรับแผนการบริหาร จัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก (Dynamic Rule Curve) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 อ่าง ขนาดกลาง 12 แห่ง
- ดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ปัจจุบันพร้อมใช้งาน รองรับการบริหารจัดการน้ำ
5.มีการประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำร่วมกัน
6.โครงการชลประทานชัยภูมิและสำนักงานป้องและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยภูมิ มีการดำเนินการขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวาในลำน้ำและหน้าอาคารระบายน้ำต่างๆ แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน และระหว่างฤดูฝน - ตรวจสอบเครื่องจักร – เครื่องมือให้พร้อมใช้งาน (เครื่องสูบน้ำ 30 เครื่อง, รถตักหน้าขุดหลัง 2 คัน, เรือกำจัดวัชพืช 6 ลำ)
- โครงการชลประทานชัยภูมิและสำนักงานป้องและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยภูมิ มีการดำเนินการขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวาในลำน้ำและหน้าอาคารระบายน้ำต่างๆ แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน และระหว่างฤดูฝน
- ตรวจสอบเครื่องจักร – เครื่องมือให้พร้อมใช้งาน (เครื่องสูบน้ำ 30 เครื่อง, รถตักหน้าขุดหลัง 2 คัน, เรือกำจัดวัชพืช 6 ลำ)
- มีการเตรียมการระบายน้ำเพื่อรองรับฝนใหม่ที่จะเข้ามา อ่างเก็บน้ำทั้งของ ชลประทาน กฟผ. และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ความจุเฉลี่ย 56.46 % คงมีอ่างเก็บน้ำลำปะทาว(ล่าง) มีปริมาณน้ำ 90.62 % จังหวัดชัยภูมิมอบชลประทานทำกาลักน้ำให้ได้มากที่สุด
- ตรวจความปลอดภัย คัน/ทำนบ/ผนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ 13 แห่ง (คป.ชัยภูมิ 6 แห่ง, คบ.ชีบน 1 แห่ง, คบ.พรม-เชิญ 2 แห่ง, ก่อสร้างกลาง 4 แห่ง)
- ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิมอบหมายให้ทุกอำเภอในพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุในส่วนที่มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ มอบหมายให้ อปท.ประสานหน่วยงานเจ้าของเครื่อง เตรียมดำเนินการ ตลอด 24 ชม
- ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย 2 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด และระดับหน่วยงาน
- ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ จัดแถลงข่าวให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบข้อมูลสถานการณ์น้ำ และให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกว่า จะสิ้นฤดูฝน
- มีการประชุมติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ภัยอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ สทนช.3ได้นำเสนอการคาดการณ์ พื้นที่น้ำท่วม ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ
โดยจังหวัดชัยภูมิได้มอบหมายชลประทานจังหวัดชัยภูมิเฝ้าติดตามในพื้นที่สำคัญโดยเฉพาะอำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอที่มีความเสี่ยง ซึ่งได้รับแจ้งว่าทุกอำเภอ มีการ ติดตามแก้ไขเฝ้าระวังและรายงาน สถานการณ์ เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีพร้อมนี้ได้มีการ ออกพื้นที่ตรวจสอบสภาพลำน้ำและอาคารชลประทานในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิร่วมกัน